วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

รถเมล์-เป้”วิวาห์ฟ้าผ่า”แพนเค้ก”ช้ำเป็นได้แค่เพื่อนเจ้าสาว
        เป็นฉากที่พลิกล็อกแบบถล่มทลายเมื่อ แป้งร่ำ(แพนเค้ก)ต้องหัวใจสลายชายที่รักต้องแต่งงานกับหญิงอื่น หลังที่แอบปลูกต้นรักสวีทกับ เปา (เป้)มาอยู่นานสองนาน  สุดท้ายคุณหญิง (รถเมล์)ดันเป็นหญิงที่ได้ร่างกายของเปาไปครองหลังจากที่ คุณหญิงเกิดอาการป่องขึ้นมาจากฝีมือณพ (บอล-อัศนัย)  ของลูกน้องคนสนิทของ พี่ใหญ่(พีท) ไม่รอช้าพี่ใหญ่เลยสั่งให้เปาเป็นผู้รับผิดชอบน้องสาวที่ท้องกับใครไม่รู้
        ฉากนี้” เป้ อารักษ์” สุดจะคึกคักเพราะไม่เคยได้ใส่ชุดแต่งงานมาก่อน ด้านสาว”รถเมล์แม้เคยใส่ชุดเจ้าสาวมาบ้างแล้วก็ยังมีเขินๆ จนพี่เป้ แซว "เขินทำไม? มันเป็นแค่การแสดง" แหมๆๆ ทีฉาก เลิฟซีน กะ แป้งรํ่า ทำไมเขินยะ...ตาเป้?!!  ถึงเวลาถ่ายจริงนักแสดงทุกคนเตรียมพร้อมเข้าฉากอารมณ์รักเฉือดเฉือนได้อย่างเข้มข้น โดยเฉพาะแป้งรํ่า(แพนเค้ก)ที่ดูจะน่าสงสารเป็นที่สุดจากคนรักต้องมากลายเป็นเพื่อนเจ้าสาวของคนที่รัก  เสร็จจากฉากน่าเศร้าก็ย้าย"เจ้าบ่าวหมาดๆ" ไปถ่ายต่อใน "คุก" อ๊ะๆๆๆสงสังใช่ม๊าว่ามันเกี่ยวกันยังไง อยากรู้ติดตามดูให้ได้ใน"เธอกับเขาและรักของเรา  " คืนวันจันทร์-อังคาร 20.15 น. ทางช่วง 7 สี คร่า..
เธอกับเขาและรักของเรา 1.jpg
ฉากหนึ่งในละคร" เธอกับเขาและรักของเรา  "
เธอกับเขาและรักของเรา 2.png
ฉากหนึ่งในละคร" เธอกับเขาและรักของเรา  "
เธอกับเขาและรักของเรา 3.png
ฉากหนึ่งในละคร" เธอกับเขาและรักของเรา  "
เธอกับเขาและรักของเรา 4.png
ฉากหนึ่งในละคร" เธอกับเขาและรักของเรา  "
เธอกับเขาและรักของเรา 5.png


ข่าวแพนเค้กกับเป้

เป้-แพน”สวีทหวานไม่อายใคร
        เงียบขรึมอยู่ได้ตั้งนานพอได้กันก็หายเก๊กเลยสำหรับเปา (เป้-อารักษ์) ที่แสดงความรักที่มีต่อแป้งร่ำ (แพนเค้ก) โดยไม่สนว่าจะเป็นคนของ คุณใหญ่ (พีท ทองเจือ)  ฉากนี้จับพระนางตีตั๋วขึ้นรถไฟไปทัวร์แบบบ้านๆระหว่างทางกินไก่ย่างสวีทหวานผลัดกันกินผลัดกันป้อน  และยังไปสวีทหวานที่น้ำตกทั้งโชว์จูบโชว์หอมแต่เทกหลายรอบหน่อยเพราะพระ-นางทั้งปากสั่นตัวสั่นแต่ทั้งคู่ก็พบวิธีแก้หนาวด้วยการกอดกัน  เอ๊ะ...ยังไง???ติดตามชมฉากหวานจ๋อยนี้ได้ในละคร”เธอกับเขาและรักขของเรา”คืนวันอังคารที่ 28 ธค. ทางช่อง7 สี
เป้-แพน.jpg
เป้-แพน.1.png
เป้-แพน3.png
เป้-แพน4.png
เป้-แพน5.png
เป้-แพน6.png

hjgkhlk

เป้-แพนเค้ก”น่ารักน่าหยิกกับฉากบอกรักหวานๆซึ้งๆ
       ผ่านฉากสนุกๆน่าลุ้น น่าหวาดเสียวกันไปแล้ววันนี้จะพามาดูฉากน่ารักเบาๆของเปา (เป้-อารักษ์) และ แป้งร่ำ (แพนเค้ก)ที่จู๋จี๋แบบหวานๆสองต่อสอง
     ฉากนี้เป็นฉากที่ “เปา”พาตัวคุณหนู”แป้งร่ำ”มากบดานอยู่ที่กระท่อมชานเมือง ย่านนนทบุรี หลังจากทั้งคู่ห่าบทสวีตมานานเลยออกอาการเขินๆ   แต่ด้วยความรักที่ตัวละครทั้งสองมีให้กันและกันพระนางสบตาซึ้งก่อนโผล่กอดกันอย่างอบอุ่นและค่อยๆบรรจงจูบหน้าผากแป้งร่ำเบาๆ  พร้อมสัญญาจะไม่ทิ้งเธอไปอีก ทั้งสองคนมีความสุขเกินจะบรรยาย ก่อนจะพากันเข้าไปพักในกระท่อมหลังน้อย หนุ่มเป้ถือโอกาสนอนหนุนตักนางเอกหลับตาพริ้มอย่างผ่อนคลาย ซักพักพระเอกจอมทะเล้นก็ลุกขึ้นมาหยอกล้อจะกัดหัวนางเอก
       ติดตามฉากน่ารักๆนี้ได้ในละคร”เธอกับเขาและรักของรา”ได้คืนนี้ 20.30 ทางช่อง 7 สีค่ะ
เปา-แป้งร่ำ.bmp
เปา-แป้งร่ำ2.bmp
เปา-แป้งร่ำ1.bmp
เปา-แป้งร่ำ4.bmp
เปา-แป้งร่ำ5.bmp
เปา-แป้งร่ำ6.bmp

ประวัติแพนเค้ก

ชื่อ - สกุล:เขมนิจ จามิกรณ์
  • แพนเค้ก

  • 27 พฤษภาคม 2531

  • โสด

  • 23 ปี

  • 178 ซม.

  • 48 กก.


  • ประวัติหนูนา

    นางอกหนัง กวน มึน โฮ

    นางเอกหนัง กวน มึน โฮ หนูนา หนึ่งธิดา


    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก GTH


                มีผลงานผ่านตาให้ได้เห็นมานาน ในที่สุด หนูนา หนึ่งธิดา โสภณ ก็ได้กลายเป็นนางเอกเต็มตัวกับเขาซะที ในภาพยนตร์เรื่อง กวน มึน โฮ งานนี้ถือว่าหนูนา ได้รับส้มหล่นสองชั้นเลยทีเดียว เพราะนอกจากจะทำให้ชื่อของเธอกลายเป็นที่รู้จักมากขึ้นแล้ว ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังไปถ่ายทำที่ประเทศเกาหลี ทำให้เธอได้ไปเที่ยวตามประเทศที่ฝันไปไว้ด้วย แต่..ก่อนจะเป็นนางเอกภาพยนตร์ในวันนี้ หนูนา มีผลงานอะไรมาแล้วบ้าง เราไปรู้จักเธอกันค่ะ

                หนูนา หนึ่งธิดา โสภณ เริ่มเข้าวงการบันเทิงด้วยการเล่นละครเรื่องแรก ลูกหลง ทางช่อง 7 แต่มาเป็นที่รู้จักจากการเล่นละครเรื่อง น้องใหม่ ร้ายบริสุทธิ์ ของช่อง 3 ด้วยการรับบทเป็นสาวแก่นอย่าง มะยม รวมทั้งยังมีผลงานโฆษณาและละคร ผ่านตาให้เห็นอีกหลายชิ้น แต่ใครจะรู้ว่า หนูนา หนึ่งธิดา เสียงดีถึงขั้น เคยประกวดร้องเพลง KPN Junior Award และได้รับถ้วยรางวัลมาแล้ว แถมยังรับบทเป็น ริน ในละครเวทีฟอร์มยักษ์อย่าง บัลลังก์เมฆ เดอะมิวสิกคัล อีกด้วย

    นางอกหนัง กวน มึน โฮ

    นางเอกหนัง กวน มึน โฮ หนูนา หนึ่งธิดา

                ล่าสุด หนูนา หนึ่งธิดา กลายเป็นหนึ่งในผู้เข้าประกวดโครงการ ลักส์ปั้นดาว ที่ จีทีเอช จับมือกับ ลักส์ ร่วมมือกันจัดขึ้น และในที่สุดก็มีโอกาสได้ร่วมงานกับค่ายจีทีเอช ด้วยการเป็นนางเอกภาพยนตร์เรื่องแรก กวน มึน โฮ ที่ประกบกับหนุ่ม เต๋อ ฉันทวิช ธนะเสวี พระเอกมาดเซอร์หวานใจสาว พีค ภัทรศยา เครือสุวรรณศิริ โดยในเรื่อง กวน มึน โฮ หนูนา หนึ่งธิดา รับบทเป็นหญิงสาวที่ต้องไปพบเจอกับชายหนุ่มแปลกหน้าที่เกาหลีใต้ ในบรรยากาศโรแมนติก เขาและเธอกลายเป็นคนแปลกหน้าสองคน..ที่ไปเที่ยวด้วยกัน และรู้สึกดี ๆ ต่อกัน จนนำมาสู่ความรัก

                สำหรับใครที่ชื่นชอบความน่ารักสดใส ของ หนูนา หนึ่งธิดา ก็อย่าลืมติดตามดูผลงานล่าสุดของเธอจากภาพยนตร์เรื่อง กวน มึน โฮ และอย่าลืมเป็นกำลังใจให้เธอได้เป็นนางเอกในอนาคตต่อ ๆ ไปนะคะ 

    นางอกหนัง กวน มึน โฮ

    นางเอกหนัง กวน มึน โฮ หนูนา หนึ่งธิดา

    ประวัติ : หนูนา หนึ่งธิดา โสภณ

             เกิด : 8 พฤษภาคม พ.ศ.2535

             อายุ : 18 ปี

             ส่วนสูง : 160 เซนติเมตร

             น้ำหนัก : 44 กิโลกรัม

             การศึกษา : ประถมศึกษา โรงเรียนกสิณธรเซนต์ปีเตอร์, มัธยมศึกษา โรงเรียนสตรีวิทยา

             งานอดิเรก : อ่านหนังสือ

             กีฬาที่ชอบ : แบดมินตัน, ไอซ์สเก็ต, ว่ายน้ำ

             สีที่ชอบ : สีฟ้า

             อาหารที่ชอบ : สตรอเบอร์รี่, ไอซ์ที

    ผลงานที่ผ่านมา :

             โฆษณา ทเวลฟ์พลัส

             โฆษณา ไบโอนิค แอคเน่

             KPN Junior Award

             ละคร ลูกหลง

             ละคร เดิมพันวันวิวาห์

             ละคร แก้วตาหวานใจ

             ละคร น้องใหม่ ร้ายบริสุทธิ์

             ซิทคอม เทวดาสาธุ

             ละครเวที บังลังก์เมฆ เดอะมิวสิกคัล

    ผลงานล่าสุด

              ภาพยนตร์ กวน มึน โฮ

    วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

    วันลอยกระทง

    ประวัติวันลอยกระทง


    กำหนดวันลอยกระทง

              วันลอยกระทงของทุกปีจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย หรือถ้าเป็นปฏิทินจันทรคติล้านนาจะตรงกับเดือนยี่ และหากเป็นปฏิทินสุริยคติจะราวเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเดือน 12 นี้เป็นช่วงต้นฤดูหนาว อากาศจึงเย็นสบาย และอยู่ในช่วงฤดูน้ำหลาก มีน้ำขี้นเต็มฝั่ง ทำให้เห็นสายน้ำอย่างชัดเจน อีกทั้งวันขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวง ทำให้สามารถเห็นแม่น้ำที่มีแสงจันทร์ส่องกระทบลงมา เป็นภาพที่ดูงดงามเหมาะแก่การชมเป็นอย่างยิ่ง

    ประเพณีลอยกระทงนั้น ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่เชื่อว่าประเพณีนี้ได้สืบต่อกันมายาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง เรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า "พิธีจองเปรียญ" หรือ "การลอยพระประทีป" และมีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟว่าเป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย ทำให้เชื่อกันว่างานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอน

              ในสมัยก่อนนั้นพิธีลอยกระทงจะเป็นการลอยโคม โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสันนิษฐานว่า พิธีลอยกระทงเป็นพิธีของพราหมณ์ จัดขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้า 3 องค์ คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้นำพระพุทธศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้อง จึงให้มีการชักโคม เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระบาทของพระพุทธเจ้า
              ก่อนที่นางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกของพระร่วงจะคิดค้นประดิษฐ์กระทงดอกบัวขึ้นเป็นคนแรกแทนการลอยโคม ดังปรากฎในหนังสือนางนพมาศที่ว่า

              "ครั้นวันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่าง ๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้ป็นลวดลาย..."

              เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯ ทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงโปรดให้ถือเป็นเยี่ยงอย่าง และให้จัดประเพณีลอยกระทงขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยให้ใช้กระทงดอกบัวแทนโคมลอย ดังพระราชดำรัสที่ว่า "ตั้งแต่นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานทีตราบเท่ากัลปาวสาน" พิธีลอยกระทงจึงเปลี่ยนรูปแบบตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

    ประเพณีลอยกระทงสืบต่อกันเรื่อยมา จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3 พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนขุนนางนิยมประดิษฐ์กระทงใหญ่เพื่อประกวดประชันกัน ซึ่งต้องใช้แรงคนและเงินจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลือง จึงโปรดให้ยกเลิกการประดิษฐ์กระทงใหญ่แข่งขัน และโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ทำเรือลอยประทีปถวายองค์ละลำแทนกระทงใหญ่ และเรียกชื่อว่า "เรือลอยประทีป" ต่อมาในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ได้ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีนี้ขึ้นมาอีกครั้ง ปัจจุบันการลอยพระประทีปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกระทำเป็นการส่วนพระองค์ตามพระ
    เหตุผลและความเชื่อของการลอยกระทง 
              สาเหตุที่มีประเพณีลอยกระทงขึ้นนั้น เกิดจากความเชื่อหลาย ๆ ประการของแต่ละท้องที่ ได้แก่ 

              1.เพื่อแสดงความสำนึกถึงบุญคุณของแม่น้ำที่ให้เราได้อาศัยน้ำกิน น้ำใช้ ตลอดจนเป็นการขอขมาต่อพระแม่คงคา ที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ลงไปในน้ำ อันเป็นสาเหตุให้แหล่งน้ำไม่สะอาด

              2.เพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทนัมมทานที เมื่อคราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ และได้ทรงประทับรอยพระบาทไว้บนหาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่าแม่น้ำเนรพุทท

              3.เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ เพราะการลอยกระทงเปรียบเหมือนการลอยความทุกข์ ความโศกเศร้า โรคภัยไข้เจ็บ และสิ่งไม่ดีต่าง ๆ ให้ลอยตามแม่น้ำไปกับกระทง คล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์

              4.เพื่อเป็นการบูชาพระอุปคุต ที่ชาวไทยภาคเหนือให้ความเคารพ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล โดยมีตำนานเล่าว่าพระอุปคุตเป็นพระมหาเถระรูปหนึ่งที่มีอิทธิฤทธิ์มาก สามารถปราบพญามารได้ 

              5.เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมของไทยไว้มิให้สูญหายไปตามกาลเวลา และยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

              6.เพื่อความบันเทิงเริงใจ เนื่องจากการลอยกระทงเป็นการนัดพบปะสังสรรค์กันในหมู่ผู้ไปร่วมงาน

              7.เพื่อส่งเสริมงานฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ เพราะเมื่อมีเทศกาลลอยกระทง มักจะมีการประกวดกระทงแข่งกัน ทำให้ผู้เข้าร่วมได้เกิดความคิดแปลกใหม่ และยังรักษาภูมิปัญหาพื้นบ้านไว้อีกด้วย
    ประเพณีลอยกระทงในแต่ละภาค

              ลักษณะการจัดงานลอยกระทงของแต่ละจังหวัด และแต่ละภาคจะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันคือ

    ลอยกระทง


               ภาคเหนือ (ตอนบน) จะเรียกประเพณีลอยกระทงว่า "ยี่เป็ง" อันหมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่  (เดือนยี่ถ้านับตามล้านนาจะตรงกับเดือนสิบสองในแบบไทย) โดยชาวเหนือจะนิยมประดิษฐ์โคมลอย หรือที่เรียกว่า "ว่าวฮม" หรือ "ว่าวควัน" โดยการใช้ผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ ให้โคมลอยขึ้นไปในอากาศ เพื่อเป็นการบูชาพระอุปคุตต์ ซึ่งเชื่อกันว่าท่านบำเพ็ญบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึก หรือสะดือทะเล ตรงกับคติของชาวพม่า


    ลอยกระทง

               จังหวัดตาก จะประดิษฐ์กระทงขนาดเล็ก แล้วปล่อยลอยไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้เรียงรายเป็นสาย เรียกว่า "กระทงสาย"

     
    ลอยกระทง



               จังหวัดสุโขทัย เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีชื่อเสียงในเรื่องประเพณีลอยกระทง ด้วยความเป็นจังหวัดต้นกำเนิดของประเพณีนี้ โดยการจัดงาน ลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ ที่จังหวัดสุโขทัยถูกฟื้นฟูกลับมาอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ.2520 ซึ่งจำลองบรรยากาศงานมาจากงานลอยกระทงสมัยกรุงสุโขทัย และหลังจากนั้นก็มีการจัดงานลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟขึ้นที่จังหวัดสุโขทัยทุก ๆ ปี มีทั้งการจัดขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การเล่นพลุตะไล และไฟพะเนียง

    ลอยกระทง

               ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ งานลอยกระทงจะเรียกว่า เทศกาลไหลเรือไฟ โดยจัดเป็นประเพณียิ่งใหญ่ทุกปีในจังหวัดนครพนม มีการนำหยวกกล้วย หรือวัสดุต่าง ๆ มาตกแต่งเรือ และประดับไฟอย่างสวยงาม และตอนกลางคืนจะมีการจุดไฟปล่อยกระทงให้ไหลไปตามลำน้ำโขง

    ลอยกระทง

               กรุงเทพมหานคร มีการจัดงานลอยกระทงหลายแห่ง แต่ที่เป็นไฮไลท์อยู่ที่ "งานภูเขาทอง" ที่จะเนรมิตงานวัดเพื่อเฉลิมฉลองประเพณีลอยกระทง ส่วนใหญ่จัดอยู่ราว 7-10 วัน ตั้งแต่ก่อนวันลอยกระทง จนถึงหลังวันลอยกระทง

    ลอยกระทง

               ภาคใต้ มีการจัดงานลอยกระทงในหลาย ๆ จังหวัด เช่น อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ที่มีงานยิ่งใหญ่ทุกปี


    กิจกรรมในวันลอยกระทง
              ในปัจจุบันมีการจัดงานลอยกระทงทุก ๆ จังหวัด ซึ่งจะมีกิจกรรมแตกต่างกันไปในแต่ละสถานที่ แต่กิจกรรมที่มีเหมือน ๆ กันก็คือ การประดิษฐ์กระทง โดยนำวัสดุต่าง ๆ ทั้งหยวกกล้วย ใบตอง หรือจะเป็นกาบพลับพลึง เปลือกมะพร้าว ฯลฯ มาประดับตกแต่งด้วยดอกไม้ ธูป เทียน เครื่องสักการบูชา ให้เป็นกระทงที่สวยงาม ภายหลังมีการใช้วัสดุโฟมที่สามารถประดิษฐ์กระทงได้ง่าย แต่จะทำให้เกิดขยะที่ย่อยสลายยากขึ้น จึงมีการรณรงค์ให้เลิกใช้กระทงโฟมเพื่อพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ก่อนจะมีการดัดแปลงวัสดุทำกระทงให้หลากหลายขึ้น เช่น กระทงขนมปัง กระทงกระดาษ กระทงพลาสติกชนิดพิเศษ เพื่อให้ย่อยสลายง่ายและไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม

    ลอยกระทง

    ลอยกระทง

              เมื่อไปถึงสถานที่ลอยกระทง ก่อนทำการลอยก็จะอธิษฐานในสิ่งที่ปรารถนาขอให้ประสบความสำเร็จ หรือเสี่ยงทายในสิ่งต่าง ๆ จากนั้นจึงปล่อยกระทงให้ลอยไปตามสายน้ำ และในกระทงมักนิยมใส่เงินลงไปด้วย เพราะเชื่อกันว่าเป็นการบูชาพระแม่คงคา

              นอกจากการลอยกระทงแล้ว มักมีกิจกรรมประกวดนางนพมาศอันเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของประเพณีลอยกระทง และตามสถานที่จัดงานจะมีการประกวดกระทง ขบวนแห่ มหรสพสมโภชต่าง ๆ บางแห่งอาจมีการจุดพลุ ดอกไม้ไฟเฉลิมฉลองด้วย

              เมื่อเราได้ยินเพลง "รำวงลอยกระทง" ที่ขึ้นต้นว่า "วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง..." นั่นเป็นสัญญาณว่าใกล้จะถึงวันลอยกระทงแล้ว ซึ่งเพลงนี้เป็นที่คุ้นหูของทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ เพราะในต่างประเทศมักเปิดเพลงนี้ต้อนรับนักท่องเที่ยว เพื่อแสดงถึงความเป็นประเทศไทย

              เพลงรำวงวันลอยกระทงแต่งโดยครูแก้ว อัจฉริยกุล ผู้ให้ทำนองคือ ครูเอื้อ สุนทรสนาน แห่งสุนทราภรณ์ ซึ่งครูเอื้อได้แต่งเพลงนี้ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2498 ขณะที่ได้ไปบรรเลงเพลงที่บริเวณคณะบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมีผู้ขอเพลงจากครูเอื้อ ครูเอื้อจึงนั่งแต่งเพลงนี้ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในระยะเวลาเพียงครึ่งชั่วโมงจึงเกิดเป็นเพลง "รำวงลอยกระทง" ที่ติดหูกันมาทุกวันนี้ มีเนื้อร้องว่า

              วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง 
              เราทั้งหลายชายหญิง 
              สนุกกันจริง วันลอยกระทง 
              ลอย ลอยกระทง ลอย ลอยกระทง 
              ลอยกระทงกันแล้ว 
              ขอเชิญน้องแก้วออกมารำวง 
              รำวงวันลอยกระทง รำวงวันลอยกระทง 
              บุญจะส่งให้เราสุขใจ บุญจะส่งให้เราสุขใจ 


              สำหรับวันลอยกระทง 2553 ตรงกับวันอาทิตย์ ที่ 21 พฤศจิกายน  ใครที่ยังไม่มีโปรแกรมไปเที่ยวที่ไหน ก็อย่าลืมชวนครอบครัว หรือเพื่อน ๆ มาร่วมกันสานต่อประเพณีที่ดีงามนี้ไว้นะค่ะ อ่อ... และอย่าลืมใช้กระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติด้วยล่ะ เพราะนอกจากจะไปลอยกระทงเพื่ออนุรักษ์ประเพณีแล้ว ยังจะเป็นการช่วยอนุรักษ์ธรรมชาติไว้อีกต่อหนึ่งด้วยค่ะ ราชอัธยาศัย


    

    ลอยกระทง



    เพลงประจำเทศกาลลอยกระทง