วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วันลอยกระทง

ประวัติวันลอยกระทง


กำหนดวันลอยกระทง

          วันลอยกระทงของทุกปีจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย หรือถ้าเป็นปฏิทินจันทรคติล้านนาจะตรงกับเดือนยี่ และหากเป็นปฏิทินสุริยคติจะราวเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเดือน 12 นี้เป็นช่วงต้นฤดูหนาว อากาศจึงเย็นสบาย และอยู่ในช่วงฤดูน้ำหลาก มีน้ำขี้นเต็มฝั่ง ทำให้เห็นสายน้ำอย่างชัดเจน อีกทั้งวันขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวง ทำให้สามารถเห็นแม่น้ำที่มีแสงจันทร์ส่องกระทบลงมา เป็นภาพที่ดูงดงามเหมาะแก่การชมเป็นอย่างยิ่ง

ประเพณีลอยกระทงนั้น ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่เชื่อว่าประเพณีนี้ได้สืบต่อกันมายาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง เรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า "พิธีจองเปรียญ" หรือ "การลอยพระประทีป" และมีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟว่าเป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย ทำให้เชื่อกันว่างานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอน

          ในสมัยก่อนนั้นพิธีลอยกระทงจะเป็นการลอยโคม โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสันนิษฐานว่า พิธีลอยกระทงเป็นพิธีของพราหมณ์ จัดขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้า 3 องค์ คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้นำพระพุทธศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้อง จึงให้มีการชักโคม เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระบาทของพระพุทธเจ้า
          ก่อนที่นางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกของพระร่วงจะคิดค้นประดิษฐ์กระทงดอกบัวขึ้นเป็นคนแรกแทนการลอยโคม ดังปรากฎในหนังสือนางนพมาศที่ว่า

          "ครั้นวันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่าง ๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้ป็นลวดลาย..."

          เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯ ทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงโปรดให้ถือเป็นเยี่ยงอย่าง และให้จัดประเพณีลอยกระทงขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยให้ใช้กระทงดอกบัวแทนโคมลอย ดังพระราชดำรัสที่ว่า "ตั้งแต่นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานทีตราบเท่ากัลปาวสาน" พิธีลอยกระทงจึงเปลี่ยนรูปแบบตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ประเพณีลอยกระทงสืบต่อกันเรื่อยมา จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3 พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนขุนนางนิยมประดิษฐ์กระทงใหญ่เพื่อประกวดประชันกัน ซึ่งต้องใช้แรงคนและเงินจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลือง จึงโปรดให้ยกเลิกการประดิษฐ์กระทงใหญ่แข่งขัน และโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ทำเรือลอยประทีปถวายองค์ละลำแทนกระทงใหญ่ และเรียกชื่อว่า "เรือลอยประทีป" ต่อมาในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ได้ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีนี้ขึ้นมาอีกครั้ง ปัจจุบันการลอยพระประทีปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกระทำเป็นการส่วนพระองค์ตามพระ
เหตุผลและความเชื่อของการลอยกระทง 
          สาเหตุที่มีประเพณีลอยกระทงขึ้นนั้น เกิดจากความเชื่อหลาย ๆ ประการของแต่ละท้องที่ ได้แก่ 

          1.เพื่อแสดงความสำนึกถึงบุญคุณของแม่น้ำที่ให้เราได้อาศัยน้ำกิน น้ำใช้ ตลอดจนเป็นการขอขมาต่อพระแม่คงคา ที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ลงไปในน้ำ อันเป็นสาเหตุให้แหล่งน้ำไม่สะอาด

          2.เพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทนัมมทานที เมื่อคราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ และได้ทรงประทับรอยพระบาทไว้บนหาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่าแม่น้ำเนรพุทท

          3.เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ เพราะการลอยกระทงเปรียบเหมือนการลอยความทุกข์ ความโศกเศร้า โรคภัยไข้เจ็บ และสิ่งไม่ดีต่าง ๆ ให้ลอยตามแม่น้ำไปกับกระทง คล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์

          4.เพื่อเป็นการบูชาพระอุปคุต ที่ชาวไทยภาคเหนือให้ความเคารพ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล โดยมีตำนานเล่าว่าพระอุปคุตเป็นพระมหาเถระรูปหนึ่งที่มีอิทธิฤทธิ์มาก สามารถปราบพญามารได้ 

          5.เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมของไทยไว้มิให้สูญหายไปตามกาลเวลา และยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

          6.เพื่อความบันเทิงเริงใจ เนื่องจากการลอยกระทงเป็นการนัดพบปะสังสรรค์กันในหมู่ผู้ไปร่วมงาน

          7.เพื่อส่งเสริมงานฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ เพราะเมื่อมีเทศกาลลอยกระทง มักจะมีการประกวดกระทงแข่งกัน ทำให้ผู้เข้าร่วมได้เกิดความคิดแปลกใหม่ และยังรักษาภูมิปัญหาพื้นบ้านไว้อีกด้วย
ประเพณีลอยกระทงในแต่ละภาค

          ลักษณะการจัดงานลอยกระทงของแต่ละจังหวัด และแต่ละภาคจะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันคือ

ลอยกระทง


           ภาคเหนือ (ตอนบน) จะเรียกประเพณีลอยกระทงว่า "ยี่เป็ง" อันหมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่  (เดือนยี่ถ้านับตามล้านนาจะตรงกับเดือนสิบสองในแบบไทย) โดยชาวเหนือจะนิยมประดิษฐ์โคมลอย หรือที่เรียกว่า "ว่าวฮม" หรือ "ว่าวควัน" โดยการใช้ผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ ให้โคมลอยขึ้นไปในอากาศ เพื่อเป็นการบูชาพระอุปคุตต์ ซึ่งเชื่อกันว่าท่านบำเพ็ญบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึก หรือสะดือทะเล ตรงกับคติของชาวพม่า


ลอยกระทง

           จังหวัดตาก จะประดิษฐ์กระทงขนาดเล็ก แล้วปล่อยลอยไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้เรียงรายเป็นสาย เรียกว่า "กระทงสาย"

 
ลอยกระทง



           จังหวัดสุโขทัย เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีชื่อเสียงในเรื่องประเพณีลอยกระทง ด้วยความเป็นจังหวัดต้นกำเนิดของประเพณีนี้ โดยการจัดงาน ลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ ที่จังหวัดสุโขทัยถูกฟื้นฟูกลับมาอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ.2520 ซึ่งจำลองบรรยากาศงานมาจากงานลอยกระทงสมัยกรุงสุโขทัย และหลังจากนั้นก็มีการจัดงานลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟขึ้นที่จังหวัดสุโขทัยทุก ๆ ปี มีทั้งการจัดขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การเล่นพลุตะไล และไฟพะเนียง

ลอยกระทง

           ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ งานลอยกระทงจะเรียกว่า เทศกาลไหลเรือไฟ โดยจัดเป็นประเพณียิ่งใหญ่ทุกปีในจังหวัดนครพนม มีการนำหยวกกล้วย หรือวัสดุต่าง ๆ มาตกแต่งเรือ และประดับไฟอย่างสวยงาม และตอนกลางคืนจะมีการจุดไฟปล่อยกระทงให้ไหลไปตามลำน้ำโขง

ลอยกระทง

           กรุงเทพมหานคร มีการจัดงานลอยกระทงหลายแห่ง แต่ที่เป็นไฮไลท์อยู่ที่ "งานภูเขาทอง" ที่จะเนรมิตงานวัดเพื่อเฉลิมฉลองประเพณีลอยกระทง ส่วนใหญ่จัดอยู่ราว 7-10 วัน ตั้งแต่ก่อนวันลอยกระทง จนถึงหลังวันลอยกระทง

ลอยกระทง

           ภาคใต้ มีการจัดงานลอยกระทงในหลาย ๆ จังหวัด เช่น อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ที่มีงานยิ่งใหญ่ทุกปี


กิจกรรมในวันลอยกระทง
          ในปัจจุบันมีการจัดงานลอยกระทงทุก ๆ จังหวัด ซึ่งจะมีกิจกรรมแตกต่างกันไปในแต่ละสถานที่ แต่กิจกรรมที่มีเหมือน ๆ กันก็คือ การประดิษฐ์กระทง โดยนำวัสดุต่าง ๆ ทั้งหยวกกล้วย ใบตอง หรือจะเป็นกาบพลับพลึง เปลือกมะพร้าว ฯลฯ มาประดับตกแต่งด้วยดอกไม้ ธูป เทียน เครื่องสักการบูชา ให้เป็นกระทงที่สวยงาม ภายหลังมีการใช้วัสดุโฟมที่สามารถประดิษฐ์กระทงได้ง่าย แต่จะทำให้เกิดขยะที่ย่อยสลายยากขึ้น จึงมีการรณรงค์ให้เลิกใช้กระทงโฟมเพื่อพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ก่อนจะมีการดัดแปลงวัสดุทำกระทงให้หลากหลายขึ้น เช่น กระทงขนมปัง กระทงกระดาษ กระทงพลาสติกชนิดพิเศษ เพื่อให้ย่อยสลายง่ายและไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม

ลอยกระทง

ลอยกระทง

          เมื่อไปถึงสถานที่ลอยกระทง ก่อนทำการลอยก็จะอธิษฐานในสิ่งที่ปรารถนาขอให้ประสบความสำเร็จ หรือเสี่ยงทายในสิ่งต่าง ๆ จากนั้นจึงปล่อยกระทงให้ลอยไปตามสายน้ำ และในกระทงมักนิยมใส่เงินลงไปด้วย เพราะเชื่อกันว่าเป็นการบูชาพระแม่คงคา

          นอกจากการลอยกระทงแล้ว มักมีกิจกรรมประกวดนางนพมาศอันเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของประเพณีลอยกระทง และตามสถานที่จัดงานจะมีการประกวดกระทง ขบวนแห่ มหรสพสมโภชต่าง ๆ บางแห่งอาจมีการจุดพลุ ดอกไม้ไฟเฉลิมฉลองด้วย

          เมื่อเราได้ยินเพลง "รำวงลอยกระทง" ที่ขึ้นต้นว่า "วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง..." นั่นเป็นสัญญาณว่าใกล้จะถึงวันลอยกระทงแล้ว ซึ่งเพลงนี้เป็นที่คุ้นหูของทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ เพราะในต่างประเทศมักเปิดเพลงนี้ต้อนรับนักท่องเที่ยว เพื่อแสดงถึงความเป็นประเทศไทย

          เพลงรำวงวันลอยกระทงแต่งโดยครูแก้ว อัจฉริยกุล ผู้ให้ทำนองคือ ครูเอื้อ สุนทรสนาน แห่งสุนทราภรณ์ ซึ่งครูเอื้อได้แต่งเพลงนี้ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2498 ขณะที่ได้ไปบรรเลงเพลงที่บริเวณคณะบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมีผู้ขอเพลงจากครูเอื้อ ครูเอื้อจึงนั่งแต่งเพลงนี้ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในระยะเวลาเพียงครึ่งชั่วโมงจึงเกิดเป็นเพลง "รำวงลอยกระทง" ที่ติดหูกันมาทุกวันนี้ มีเนื้อร้องว่า

          วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง 
          เราทั้งหลายชายหญิง 
          สนุกกันจริง วันลอยกระทง 
          ลอย ลอยกระทง ลอย ลอยกระทง 
          ลอยกระทงกันแล้ว 
          ขอเชิญน้องแก้วออกมารำวง 
          รำวงวันลอยกระทง รำวงวันลอยกระทง 
          บุญจะส่งให้เราสุขใจ บุญจะส่งให้เราสุขใจ 


          สำหรับวันลอยกระทง 2553 ตรงกับวันอาทิตย์ ที่ 21 พฤศจิกายน  ใครที่ยังไม่มีโปรแกรมไปเที่ยวที่ไหน ก็อย่าลืมชวนครอบครัว หรือเพื่อน ๆ มาร่วมกันสานต่อประเพณีที่ดีงามนี้ไว้นะค่ะ อ่อ... และอย่าลืมใช้กระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติด้วยล่ะ เพราะนอกจากจะไปลอยกระทงเพื่ออนุรักษ์ประเพณีแล้ว ยังจะเป็นการช่วยอนุรักษ์ธรรมชาติไว้อีกต่อหนึ่งด้วยค่ะ ราชอัธยาศัย




ลอยกระทง



เพลงประจำเทศกาลลอยกระทง

วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

หลักการบริโภคอาหารที่ดี

หลักการบริโภคที่ดี


1)กินอาหารธรรมชาติเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะร่างกายต้องการสารอาหารที่บริสุทธิ์ปราศจากการปรุงแต่ง

2) กินอาหารที่ไม่ขักสี เช่นข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีท เนื่องจากข้าวซ้อมมือมีเส้นใยสูง อีกทั้งยังมีสารอาหรอีกหลายชนิด เช่น Folic acid, Niacin, วิตามิน B1, วิตามิน B6 ,DNA / RNA

3)กินอาหารที่มีเส้นใย ผลไม้และ ผักสด เนื่องจากเส้นใยมีประโยชน์หลายอย่าง เช่น ช่วยให้ไม่อ้วน ถ่ายคล่อง ลดระดับไขมันในเลื่อด เป็นต้น อาหารที่มีเส้นใยสูง ได้แก่ ข้วกล้อง ผัก ผลไม้ บางชนิด เช่น ฝรั่ง มะม่วง มะขาม เป็นต้น ส่วนผักสด และ ผลไม้นั้น การกินผักสด ทำให้ได้วิตามิน และเอมไซด์ ส่วนผลไม้ นั้นให้วิตามิน และแร่ธาตุ

4) กินอาหารเนื้อสัตว์น้อยที่สุด หรือไม่กินเลย เนื่องจากเนื้อสัตว์ มักมียาปฏิชีวนะ สเตรียรอยด์ ตกค้างอยู่ ซึ่งจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงได้ นอกจากนี้ ร่างกายของมนุษย์ ไม่เหมาะกันการกินเนื้อสัตว์ เนื่องจากลำไส้ของมนุษย์ยาวกว่าสัตว์กินเนื้อ ถึง 20 เท่า ทำให้เนื้ออยู่ในลำไส้เป็นเวลานาน จนอาหารเน่า ทำให้เกิดการแพร่กระจายของแบคทีเรีย อีกทั้งการย่อยเนื้อต้องใช้พลังงานมาก

5) เน้นผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เพาะถั่งเหลืองประกอบด้วยโปรตีนจากพืชและไฟโตอีสโตรเจน

6) ผลิตภัณฑ์ประเภทนมควรแน่ใจแหล่งผลิต

7) ให้ระมัดระวังอาหารที่มีไขมัน งดไขมันจากสัตว์ หลีกเลี่ยงไขมันที่ผ่านกระบวนการที่ใช้ความร้อนสูง เนื่องจากไขมันที่ถูกความร้อน กรดไขมันจะเปลี่ยนรูปจากซีส มาเป็นทรานส์ซึ่งเป็นไขมันที่ร่างกายใช้ไม่ได้ นอกจากนี้มีการพบว่า การใช้น้ำมันไม่อิ่มตัวทอดอาหารนั้น เกิดสารเป็นอันตรายต่อสุขภาพหลายตัว ซึ่งหากต้องใช้น้ำมันทอด ไม่ควรใช้ไฟแรงจนควันขึ้น และใช้ทอดเพียงครั้งเดียวแล้วทิ้ง นอกจากนี้การกินอาหารที่มีไขมันสูงเกินไปทำให้อ้วน และเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันเลือดสูงฯลฯ

8)หลีกเลี่ยงอาหารสังเคราะห์หรืออาหารที่ผลิตจากแป้งขาว น้ำตาลทรายขาว เนื่องจากน้ำตาลมีโทษหลายอย่าง เช่น กดระบบทำงานของภูมิคุ้มกัน เบาหวาน ความดันโหลหิตสูงเป็นต้น ส่วนแป้งขาวนั้นขาดเส้นใยและวิตามินกับเกลือแร่

ประโยชน์ของอาหารที่ดีต่อร่างกาย

ประโยชน์ ของสารต้านอนุมูลอิสระ ต่อร่างกาย


ผักและผลไม้เป็นแหล่งที่ดีที่สุดของสารต้านอนุมูลอิสระ โดยเฉพาะผักและผลไม้ สีเข้ม และธัญญพืช ที่ผ่านการขัดสีน้อย จะมีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่มาก ดั้งนั้นการรับประทานผักและผลไม้ที่มีหลากสีสันและหลายชนิดจะช่วยให้ร่างกายได้รับสารต่อต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด และเกิดผลประโยชน์ต่อร่างกายสูงสุด อีกทั้งยังได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์อื่นๆเช่น วิตามิน เกลือแร่ และเยื่อใยอาหารรวมทั้งสารออกฤทธิ์จากพืช ตัวอื่นๆอีกด้วย การรับประทานประทานอาหารที่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสามารถลดความเสี่ยง ต่อการเกิดโรคต่างๆเช่น โรคหัวใจ โรคเกี่ยวกับตา อัลไซเมอร์ และมะเร็งบางชนิด การรับประทานอาหารสารต้านอนุมูลอิสระในรูปอาหารเสริมจะมีผลบวกต่อร่างกายน้อยกว่าการับประทานผักและผลไม้ ในระหว่างวันอาจจะหา ชาเขียวร้อนหรือเย็นดื่ม หรือปั่นน้ำทับทิม ก็จะช่วยให้ร่างกายได้รับสารต่อต้านอนุมูลอิสระ

ผักและผลไม้ ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงเช่น ผักโขม แครอท มะเขือเทศ โดยเฉพาะ ผลิตภัณฑ์ จากมะเขือเทศ ผลไม้ตระกูลส้ม ฟักทอง ธัญญพืชที่ผ่านการขัดสีน้อย หรือผักและผลไม้ที่มีสีเข้ม



( ข้อมูลจาก โครงการเผยแพร่ความรู้ผ่านหนังสือพิมพ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)



ช่วยเผยแพร่บอกต่อโดย กานดา แสนมณี ผู้แทนชมรมอนุรักษ์และพัฒนาน้ำมันมะพร้าวแห่งประเทศไทย จังหวัดเชียงใหม่
1. อาหารสร้างเสริมทำให้ร่างกายเจริญเติบโต ทุกคนต้องการอาหารไปเสริมสร้างความเจริญเติบโตของร่างกาย เพราะการแบ่งเซลล์ในร่างกายนั้นต้องอาศัยสารอาหารประเภทต่างๆที่บริโภคเข้าไป




2. อาหาร เสริมสร้างอวัยวะของร่างกายที่สึกหรอ ทรุดโทรม ให้กลับสุขภาพดีในร่างกายวัยผู้ใหญ่ย่อมมีการชำรุดสึกหรอ เช่นเดียวกับเครื่องยนต์ที่ใช้งานมานาน จึงจำเป็นต้องซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอนั้นให้กลับคืนสู่สภาพเดิม ซึ่งการซ่อมแซมนี้ร่างกายจำเป็นต้องอาศัยสารอาหารที่ได้จากการรับประทานอาหารโดยเฉพาะสารอาหารจำพวกโปรตีน

3. อาหาร ให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย เนื่องจากร่างกายต้องทำงานอยู่ตลอดเวลาแม้ในขณะหลับ นอกจากนี้ในการเผาผลาญอาหารยังช่วยให้มีพลังงานความร้อนเกิดขึ้นด้วย พลังงานความร้อนนี้จะทำหน้าที่ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย



4. อาหาร ช่วยควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ของร่างกายให้ทำหน้าที่ตามปกติ เนื่องจากแหล่งพลังงานของร่างกายได้มาจากอาหารการทำงานของอวัยวะต่างๆต้องได้รับอาหารที่เหมาะสมจึงทำให้อวัยวะต่างๆทำงานได้ตามปกติ เช่น การทำงานของต่อมไทรอยด์ จำเป็นต้องได้รับอาหารที่มีธาตุไอโอดีน ถ้าร่างกายได้รับธาตุไอโอดีนน้อยเกินไปก็จะทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติและเป็นโรคคอพอกได้

ประวัติฟาง ffk

Fang: ชนันต์ธรญ์ นีระสิงห์


พี่สาวของเฟย์ มีอาวุธคู่กายที่ขาดไม่ได้คือ กิ๊บติดผมตัวเล็กๆ เห็นฟางเมื่อไหร่ต้องเห็นกิ๊บที่ติดอยู่ที่ผมหน้าเธอเมื่อนั้น ฟาว สาวหวาน ยิ้มง่าย อารมณ์ดี โลกนี้เป็นสีชมพู ด้วยความที่เป็นพี่สาวคนโต ฟางเลยเต็ม 100 กับทุกเรื่อง ไม่ว่าจะร้อง เล่น เต้น เรียน

วัน เดือน ปี เกิด: 12 กันยายน 2534

ส่วนสูง 158

น้ำหนัก 48

ศิลปินที่ชื่นชอบ ดงบังชิงกิ, jolin tsai, Avril lavig

การศึกษา: มัธยม 4 / ร.ร. วัฒนาวิทยาลัย

ผลงานเพลง: 2007 Faye Fang Kaew

ความคาดหวังกับอัลบั้มใหม่:ทุกคนเห็นความพัฒนา และควาตั้งใจอันเปี่ยมล้นของพวกเรา

ความสามรถพิเศษ: ร้องเพลง เปียโน

กิจกรรมยามว่าง: ซ้อมแก้วเล่น อิ อิ

ข้อดีของตัวเอง: อารมณ์ดี นิสัยก็ดี ฮ่าๆๆๆ

ข้อเสียของตัวเอง: ใจร้อน ขี้เซา

บุคคลที่เป็นแบบอย่าง: พ่อ แม่

เรื่องที่ประทับใจที่สุด: มีคนร้องเพลงเราดังๆ

สีที่ชอบ: ชมพู ส้ม

อาหารจานโปรด: อาหารที่ฟางทำเองอาหร่อยที่ซู้ดดด

เมนูเด็ดส่วนตัว: ได้หมด อยากกินไรบอกมาเลยดีกว่า

ของรักของหวง: ทุกอย่าง

ของขวัญชิ้นโปรด: ชอบทุกชิ้นเล้ย

ภาพยนตร์เรื่องโปรด: Harry Potter

อัลบั้มสุดโปรด: Faye Fang Kaew

สถานที่ที่อยากไป + เหตุผล: ไปต่าง

                                                     

ประวัติ อั้ม พัชราภา ไชยเชื้อ

ชื่อ - สกุล:พัชราภา ไชยเชื้อ
ชื่อเล่นอั้ม
วันเกิด:5 ธันวาคม 2521
สถานะ:โสด
อายุ:32 ปี
ส่วนสูง: 168 ซม.
น้ำหนัก:46 กก. การศึกษา ประถมศึกษาโรงเรียนสตรีวรนารถ บางเขน มัธยมโรงเรียนดัดดรุณี จ.ฉะเชิงเทราปริญญาตรีมหาวิทยาลัยรังสิตงานอดิเรก ฟังเพลง ช็อปปิ้งเสื้อผ้า เข็มขัด รองเท้าสิ่งที่ชื่นชอบ ชอบสีดำกับชมพูกีฬาว่ายน้ำ ถูกใจสยามแสควร์ ชอบคาราโอเกะเพลงช้าของมาช่า มาลีวัลย์ ชอบเพลงปาน-ธนพร เพลงเก่งคือเพลงอย่าปล่อยให้เขาเห็นน้ำตา ชอบเพลงบูโดกัน เพลงรักจนตัดใจชอบเพลงพี่แหวน เพลงดาวกระดาษ ของปนัดดา ชอบท่องเที่ยวตามธรรมชาติ เช่น ไปดำน้ำ เที่ยวทะเล ชมน้ำตกศิลปินที่ชอบ ชไมพร จตุรภุชนักกีฬาต้อง ไทเกอร์ วู้ดส์ นักการเมืองปลื้ม คุณชวน หลีกภัย นักร้อง มาช่านิสัยส่วนตัว ร่าเริงเสป็ก ต้องเป็นคนดี ใจดี เอาใจเก่ง ต้องเข้าใจกัน พร้อมจะให้อภัยกันเมื่ออีกฝ่ายทำผิดที่อยู่ 72/519 หมู่ 16 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงแสนแสบ เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ 10510รางวัล ปี 1997 รางวัลชนะเลิศ MISS HACK ประจำปี 1997 ปี 2545 รางวัล ดูเร็กซ์ โกบอล เซ็กส์ 2002 ในฐานะสาวเซ็กซี่แห่งปี 2545 จัดโดย ดูเร็กซ์ ปี 2546 รางวัล ดูเร็กซ์ โกบอล เซ็กส์ 2003 ในฐานะสาวเซ็กซี่แห่งปี 2546 จัดโดย ดูเร็กซ์ ปี 2547 รางวัล TOP AWARDS ในฐานะนักแสดงนำฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม ประจำปี 2546 จากละครเรื่อง โซ่เสน่หา ทางช่อง 7 โดยเป่า จิน จง จัดโดย นิตยสาร ทีวีพูลอาหารที่ชอบ ส้มตำ, ไก่ย่าง,ข้าวหมูทอด ข้าวมันไก่สัตว์ที่ชอบ สุนัข มีเลี้ยงอยู่ 5 ตัว ตัวโปรดชื่อ กัปตัน
ประเภทดารา:ดาราและ

วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประวัตดารา

ประวัติแบงค์วงแคลช

 เมื่อ: 28 ม.ค. 09, 12:20 น



ชื่อ - นามสกุล : ปรีติ บารมีอนันต์


ตำแหน่ง : ร้องนำ ( วง CLASH )


สังกัด : UP ^ G


วัน/เดือน/ปีเกิด : 20 ตุลาคม 2525


เชื้อชาติ/สัญชาติ : ไทย/ไทย


ส่วนสูง/น้ำหนัก : 178 ซม. / 64 กก.


พี่น้อง : 2 คน ( เป็นคนที่ 1 )


การศึกษา : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ


อุปนิสัย : ร่าเริง, สนุกสนาน


ของสะสม : แสตมป์


งานอดิเรก : ฟังเพลง


กีฬา : ฟุตบอล


สัตว์เลี้ยงที่ชอบ : สุนัข


อาหารจานโปรด : มีหลายอย่าง…


แนวเพลงที่ชอบ : ROCK


นักร้องที่ชอบ : SILLY FOOLS


บรรยากาศที่ชอบ : เย็นหลังฝนตก


คติประจำใจ : พัฒนาตัวเองเสมอ


ผลงานด้านโฆษณา : ปตท.พีทีที 4 ที ชาเลนเจอร์ ปี 2546มอเตอร์ไซด์ YAMAHA - รุ่น MIO AUTOMATIC ปี 2546 - 47


ผลงานการแสดง : ภาพยนตร์เรื่อง…พันธุ์ X เด็กสุดขั้ว/ ปี 2547


ผลงานการร้องเพลง : - อัลบั้มที่ 1 : ONE / ปี 2544- อัลบั้มที่ 2 : SOUND SHAKE / ปี 2546- อัลบั้มที่ 3 : BRAIN STORM / ปี 2547- อัลบั้มพิเศษ : SOUND CREAM / ปี 2546- อัลบั้มพิเศษ : เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง…พันธุ์ X เด็กสุดขั้ว / ปี 2547- อัลบั้มพิเศษ : PACK 4 Vol. 1-2 / ปี 2547


รางวัลที่เคยได้รับ : - ปี 2542 รองชนะเลิศอันดับ 1 ประกวด HOT WAVE MUSIC AWARDS ครั้งที่ 3 - ได้รับรางวัลเพลงร็อคยอดเยี่ยม เพลง LOVE จากงานประกาศรางวัลสีสัน - อะวอร์ด ครั้งที่ 14 ประจำปี 2544 จัดโดยนิตยสารสีสัน - ปี 2547 ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการในฐานะแกนนำในการรณรงค์ - เพื่อป้องกันและแก้ปัญหาโรคเอดส์ โดยได้รับมอบเข็มกลัดและตราสัญลักษณ์การประชุม - รูปช้างเผือก 3 เชือก

ประวัตตะกรอ

ประวัติตะกร้อ ประวัติตะก้อ ประวัติตะกร้อไทย






ประวัติตะกร้อ



ตะกร้อ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การแข่งขันตะกร้อตะกร้อ เป็นการละเล่นของไทยมาแต่โบราณ แต่ไม่มีหลักฐานแน่นอนว่ามีมาตั้งแต่สมัยใด แต่คาดว่าราว ๆ ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศอื่นที่ใกล้เคียงก็มีการเล่นตะกร้อ คนเล่นไม่จำกัดจำนวน เล่นเป็นหมู่หรือเดี่ยวก็ได้ ตามลานที่กว้างพอสมควร ตะกร้อที่ใช้เดิมใช่หวายถักเป็นลูกตะกร้อ ปัจจุบัน นิยมใช้ลูกตะกร้อพลาสติก



การเตะตะกร้อเป็นการเล่นที่ผู้เล่นได้ออกกำลังกายทุกสัดส่วน ฝึกความว่องไว ความสังเกต มีไหวพริบ ทำให้มีบุคลิกภาพดี มีความสง่างาม และการเล่นตะกร้อนับได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของไทยอย่างหนึ่ง









ลักษณะการเล่น



ตะกร้อพลาสติกการเล่นตะกร้อสามารถเล่นได้หลายแบบ ดังนี้



การเล่นเป็นทีม ผู้เล่นจะล้อมเป็นวง ผู้เริ่มต้นจะใช้เท้าเตะลูกตะกร้อไปให้อีกผู้หนึ่งรับ ผู้รับจะต้องมีความว่องไวในการใช้เท้ารับและเตะส่งไปยังอีกผู้หนึ่ง จึงเรียกวิธีเล่นนี้ว่า "เตะตะกร้อ" ความสนุกอยู่ที่การหลอกล่อที่จะเตะไปยังผู้ใด ถ้าผู้เตะทั้งวงมีความสามารถเสมอกัน จะโยนและรับไม่ให้ตะกร้อถึงพื้นได้เป็นเวลานานมาก กล่าวกันว่าทั้งวันหรือทั้งคืนก็ยังมี แต่ผู้เล่นยังไม่ชำนาญก็โยนรับได้ไม่กี่ครั้ง ลูกตะกร้อก็ตกถึงพื้น

การติดตะกร้อ(เล่นเดี่ยว) การเล่นตะกร้อที่มีชื่อเสียงมากของไทยคือ การติดตะกร้อ เป็นศิลปะการเล่นตะกร้อ คือ เตะตะกร้อให้ไปติดอยู่ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย และต้องถ่วงน้ำหนักให้อยู่นาน แล้วใช้อวัยวะส่วนนั้นส่งไปยังส่วนอื่น โดยไม่ให้ตกถึงพื้น เช่น การติดตะกร้อที่หลังมือ ข้อศอก หน้าผาก จมูก เป็นต้น นับว่าเป็นศิลปที่น่าชม ผู้เล่นต้องฝึกฝนอย่างมาก

ตะกร้อติดบ่วง การเตะตะกร้อติดบ่วง ใช้บ่วงกลมๆแขวนไว้ให้สูงสุด แต่ผู้เล่นจะสามารถเตะให้ลอดบ่วงไปยังผู้อื่นได้ กล่าวกันว่าบ่วงที่เล่นเคยสูงสุดถึง 7 เมตร และยิ่งเข้าบ่วงจำนวนมากเท่าไรยิ่งแสดงถึงความสามารถ



ท่าเตะ

ท่าเตะตะกร้อมีหลายท่าที่แสดงให้เห็นถึงความงดงามและความว่องไว ตามปกติจะใช้หลังเท้า แต่นักเล่นตะกร้อจะมีวิธีเตะที่พลิกแพลง ใช้หน้าเท้า เข่า ไขว้ขา(เรียกว่าลูกไขว้) ไขว้ขาหน้า ไขว้ขาหลัง ศอก ข้อสำคัญ คือ ความเหนียวแน่นที่ต้องรับลูกให้ได้เป็นอย่างดีเมื่อลูกมาถึงตัว ผู้เล่นมักฝึกการเตะตะกร้อด้วยท่าต่าง ๆ ลีลาในการเตะตะกร้อมี 4 แบบ คือ การเตะเหนียวแน่น (การรับให้ได้อย่างดี) การเตะแม่นคู่ (การโต้ตรงคู่) การเตะดูงามตา (ท่าเตะสวย มีสง่า) การเตะท่ามาก (เตะได้หลายท่า)


ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตะกร้อ



ในการค้นคว้าหาหลักฐานเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดการกีฬาตะกร้อในอดีตนั้น ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้อย่างชัดเจนว่ากีฬาตะกร้อนั้นกำเนิดจากที่ใด จากการสันนิษฐานคงจะได้หลายเหตุผลดังนี้

ประเทศพม่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 2310 พม่ามาตั้งค่ายอยู่ที่โพธิ์สามต้น ก็เลยเล่นกีฬาตะกร้อกัน ซึ่งทางพม่าเรียกว่า "ชิงลง"



ทางมาเลเซียก็ประกาศว่า ตะกร้อเป็นกีฬาของประเทศมาลายูเดิมเรียกว่า ซีปักรากา (Sepak Raga) คำว่า Raga หมายถึง ตะกร้า



ทางฟิลิปปินส์ ก็นิยมเล่นกันมานานแล้วแต่เรียกว่า Sipak

ทางประเทศจีนก็มีกีฬาที่คล้ายกีฬาตะกร้อแต่เป็นการเตะตะกร้อชนิดที่เป็นลูกหนังปักขนไก่ ซึ่งจะศึกษาจากภาพเขียนและพงศาวดารจีน ชาวจีนกวางตุ้งที่เดินทางไปตั้งรกรากในอเมริกาได้นำการเล่นตะกร้อขนไก่นี้ไปเผยแพร่ แต่เรียกว่าเตกโก (Tek K'au) ซึ่งหมายถึงการเตะลูกขนไก่

ประเทศเกาหลี ก็มีลักษณะคล้ายกับของจีน แต่ลักษณะของลูกตะกร้อแตกต่างไป คือใช้ดินเหนียวห่อด้วยผ้าสำลีเอาหางไก่ฟ้าปัก

ประกาศไทยก็นิยมเล่นกีฬาตะกร้อมายาวนาน และประยุกต์จนเข้ากับประเพณีของชนชาติไทยอย่างกลมกลืนและสวยงามทั้งด้านทักษะและความคิด



กติกาตะกร้อ เซปักตะกร้อ



1.ผู้เล่น

ประเภทเดี่ยว มีผู้เล่นตัวจริง 3 คน สำรอง 1 คน ประเภททีม ประกอบด้วย 3 ทีม มีผู้เล่น 9 คน และผู้เล่นสำรอง 3 คน2. ตำแหน่งของผู้เล่น มี 3 ตำแหน่งคือ

2.1 หลัง ( Back ) เป็นผู้เตะตะกร้อจากวงกลม

2.2 หน้าซ้าย

2.3 หน้าขวา

3. การเปลี่ยนตัวผู้เล่น

ในทีมเดี่ยวเปลี่ยนตัวได้ 1 คน และถ้าเหลือน้อยกว่า 3 คน ถือว่าแพ้ ผู้มีชื่อในทีมเดี่ยวที่เล่นมานานแล้ว จะลงเล่นในทีมเดี่ยวต่อไปไม่ได้

4. การเสี่ยงและการอบอุ่นร่างกาย

มีการเสี่ยง ผู้ชนะการเสี่ยงจะได้เลือกข้างหรือส่งลูก ทีมที่ได้ส่งลูกจะได้อบอุ่นร่างกายก่อน เป็นเวลา 2 นาที พร้อมเจ้าหน้าที่และนักกีฬาไม่เกิน 5 คน

5. ตำแหน่งของผู้เล่นระหว่างการส่งลูกเสิร์ฟ

เมื่อเริ่มเล่นทั้ง 2 ทีมพร้อมในแดนของตนเอง ผู้เล่นฝ่ายเสิร์ฟจะต้องอยู่ในวงกลมของตนเอง เมื่อเสิร์ฟแล้วจึงเคลื่อนที่ได้ ส่วนผู้เล่นฝ่ายรับจะยืนที่ใดก็ได้

6. การเปลี่ยนส่ง

ให้เปลี่ยนการส่งลูกเมื่อฝ่ายส่งลูกผิดกติกา หรือ ฝ่ายรับทำลูกให้ตกบนพื้นที่ของฝ่ายส่งได้

7. การขอเวลานอก

ขอได้เซตละ 1 ครั้งๆ ละ 1 นาที

8. การนับคะแนน

การแข่งขันใช้แบบ 2 ใน 3 เซต ในเซตที่ 1 และเซตที่ 2 จะมีคะแนนสูงสุด 15 คะแนน ทีมใดได้ 15 คะแนนก่อน จะเป็นผู้ชนะในเซตนั้นๆ ทั้ง 2 เซต จะไม่มีดิวส์ หากทั้งสองทีมได้ 13 ก่อน หรือ 14 เท่ากัน พักระหว่างเซต 2 นาที ถ้าเสมอกัน 1:1 เซต ให้ทำการแข่งขันเซตที่ 3 ด้วยไทเบรก โดยเริ่มด้วยการเสี่ยงใหม่ โดยใช้คะแนน 6 คะแนน ทีมใดได้ 6 คะแนนก่อนเป็นผู้ชนะ แต่จะต้องแพ้ชนะอย่างน้อย 2 คะแนน ถ้ายังไม่แพ้กันไม่น้อยกว่า 2 คะแนน ก็ให้ทำการแข่งขันอีก 2 คะแนน แต่ไม่เกิน 8 คะแนน เช่น 8:6 หทรือ 8:7 ถือเป็นการยุติการแข่งขันระบบไทเบรก เมื่อฝ่ายใดก็ตามได้ 3 คะแนน และขอเวลานอกได้เซตละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 นาที สำหรับไทเบรก ขอเวลาได้ 1 ครั้ง ครั้งละ 30 วินาที



แนะนำการดูตะกร้อ



มารยาทในการเล่นที่ดี

การเล่นกีฬาทุกชนิด ผู้เล่นจะต้องมีมารยาทในการเล่นและการแข่งขัน ประพฤติปฎิบัติตนให้เป็นไปตามขั้นตอนของการเล่นกีฬาแต่ละประเภท จึงจะนับว่าเป็นผู้เล่นที่ดีและมีมารยาท ผู้เล่นควรต้องมีมารยาทดังนี้ คือ

1. การแสดงความยินดี ชมเชยด้วยการปรบมือหรือจับมือเมื่อเพื่อนเล่นได้ดี แสดงความเสียใจเมื่อตนเอง หรือเพื่อนร่วมทีมเล่นผิดพลาดและพยามปลอบใจเพื่อน ตลอดจนปรับปรุงการเล่นของตัวเองให้ดีขึ้น

2. การเล่นอย่างสุภาพและเล่นอย่างนักกีฬา การแสดงกิริยาท่าทางการเล่นต้องให้เหมาะสมกับการเป็นนักกีฬาที่ดี

3. ผู้เล่นที่ดีต้องไม่หยิบอุปกรณ์ของผู้อื่นมาเล่นโดยพลการ

4. ไม่ว่าจะชนะหรือแพ้ต้องไม่แสดงอาการดีใจหรือเสียใจจนเกินไป

5. ผู้เล่นต้องเชื่อฟังคำตัดสินของกรรมการ หากไม่พอใจคำตัดสินก็ยื่นประท้วงตามกติกา

6. ผู้เล่นต้องควบคุมอารมณ์ให้สุขุมอยู่ตลอดเวลา

7. ก่อนการแข่งขันหรือหลังการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายแพ้หรือชนะก็ตาม ควรจะต้องจับมือแสดงความยินดี

8. หากมีการเล่นผิดพลาด จะต้องกล่าวคำขอโทษทันทีและต้องกล่าวให้อภัยเมื่อฝ่ายตรงข้ามกล่าวขอโทษด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส

9. ต้องแต่งกายรัดกุม สุภาพ ถูกต้องตามกติกาที่กำหนดไว้

10. ไม่ส่งเสียงเอะอะในขณะเล่นหรือแข่งขันจนทำให้ผู้เล่นอื่นเกิดความรำคาญ

11. ต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับตามกติกาอย่างเคร่งครัด

12. มีความอดทนต่อการฝึกซ้อมและการเล่น

13. หลังจากฝึกซ้อมแล้วต้องเก็บอุปกรณ์ให้เรียบร้อย

14. เล่นและแข่งขันด้วยชั้นเชิงของนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ในการเล่นกีฬา



มารยาทของผู้ชมที่ดี

1. ปรบมือให้นักกีฬาและผู้ตัดสินเมื่อเขาดินลงสนาม

2. ปรบมือแสดงความยินดีเมื่อผู้เล่นเล่นได้ดี หรือชนะการแข่งขัน

3. นั่งชมด้วยความสงบเรียบร้อยไม่ส่งเสียงเอะอะ

4. ไม่แสดงท่าทางยั่วยุให้ผู้เล่นขาดสมาธิ

5. ไม่ใช้เสียงเพลงที่มีเนื้อหาหยาบคาย สร้างความแตกแยก

6. อย่าแสดงกิริยาไม่สุภาพหรือใช้วัสดุสิ่งของขว้างปาลงสนาม นักกีฬา หรือกรรมการ

7. ผู้ดูต้องยอมรับการตัดสินของผู้ตัดสิน

8. ไม่ส่งเสียงโห่ร้องหรือแสดงกิริยาเย้ยหยัน เมื่อผู้เล่นเล่นผิดพลาดหรือผู้ตัดสินผิดพลาด

9. ผู้ดูควรเรียนรู้กติกาการแข่งขันกีฬาชนิดนั้นๆ พอสมควร

10. ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ เมื่อเกิดเหตุการณ์วุ่นวายขึ้นในสนามแข่งขัน

11. สนับสนุนให้กำลังใจและให้เกียรตินักกีฬาทุกประเภทเพื่อเป็นการส่งเสริมการกีฬาของชาติ

วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประวัตตะกร้อ

ประวัติตะกร้อ ประวัติตะก้อ ประวัติตะกร้อไทย






ประวัติตะกร้อ



ตะกร้อ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การแข่งขันตะกร้อตะกร้อ เป็นการละเล่นของไทยมาแต่โบราณ แต่ไม่มีหลักฐานแน่นอนว่ามีมาตั้งแต่สมัยใด แต่คาดว่าราว ๆ ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศอื่นที่ใกล้เคียงก็มีการเล่นตะกร้อ คนเล่นไม่จำกัดจำนวน เล่นเป็นหมู่หรือเดี่ยวก็ได้ ตามลานที่กว้างพอสมควร ตะกร้อที่ใช้เดิมใช่หวายถักเป็นลูกตะกร้อ ปัจจุบัน นิยมใช้ลูกตะกร้อพลาสติก



การเตะตะกร้อเป็นการเล่นที่ผู้เล่นได้ออกกำลังกายทุกสัดส่วน ฝึกความว่องไว ความสังเกต มีไหวพริบ ทำให้มีบุคลิกภาพดี มีความสง่างาม และการเล่นตะกร้อนับได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของไทยอย่างหนึ่ง









ลักษณะการเล่น



ตะกร้อพลาสติกการเล่นตะกร้อสามารถเล่นได้หลายแบบ ดังนี้



การเล่นเป็นทีม ผู้เล่นจะล้อมเป็นวง ผู้เริ่มต้นจะใช้เท้าเตะลูกตะกร้อไปให้อีกผู้หนึ่งรับ ผู้รับจะต้องมีความว่องไวในการใช้เท้ารับและเตะส่งไปยังอีกผู้หนึ่ง จึงเรียกวิธีเล่นนี้ว่า "เตะตะกร้อ" ความสนุกอยู่ที่การหลอกล่อที่จะเตะไปยังผู้ใด ถ้าผู้เตะทั้งวงมีความสามารถเสมอกัน จะโยนและรับไม่ให้ตะกร้อถึงพื้นได้เป็นเวลานานมาก กล่าวกันว่าทั้งวันหรือทั้งคืนก็ยังมี แต่ผู้เล่นยังไม่ชำนาญก็โยนรับได้ไม่กี่ครั้ง ลูกตะกร้อก็ตกถึงพื้น

การติดตะกร้อ(เล่นเดี่ยว) การเล่นตะกร้อที่มีชื่อเสียงมากของไทยคือ การติดตะกร้อ เป็นศิลปะการเล่นตะกร้อ คือ เตะตะกร้อให้ไปติดอยู่ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย และต้องถ่วงน้ำหนักให้อยู่นาน แล้วใช้อวัยวะส่วนนั้นส่งไปยังส่วนอื่น โดยไม่ให้ตกถึงพื้น เช่น การติดตะกร้อที่หลังมือ ข้อศอก หน้าผาก จมูก เป็นต้น นับว่าเป็นศิลปที่น่าชม ผู้เล่นต้องฝึกฝนอย่างมาก

ตะกร้อติดบ่วง การเตะตะกร้อติดบ่วง ใช้บ่วงกลมๆแขวนไว้ให้สูงสุด แต่ผู้เล่นจะสามารถเตะให้ลอดบ่วงไปยังผู้อื่นได้ กล่าวกันว่าบ่วงที่เล่นเคยสูงสุดถึง 7 เมตร และยิ่งเข้าบ่วงจำนวนมากเท่าไรยิ่งแสดงถึงความสามารถ



ท่าเตะ

ท่าเตะตะกร้อมีหลายท่าที่แสดงให้เห็นถึงความงดงามและความว่องไว ตามปกติจะใช้หลังเท้า แต่นักเล่นตะกร้อจะมีวิธีเตะที่พลิกแพลง ใช้หน้าเท้า เข่า ไขว้ขา(เรียกว่าลูกไขว้) ไขว้ขาหน้า ไขว้ขาหลัง ศอก ข้อสำคัญ คือ ความเหนียวแน่นที่ต้องรับลูกให้ได้เป็นอย่างดีเมื่อลูกมาถึงตัว ผู้เล่นมักฝึกการเตะตะกร้อด้วยท่าต่าง ๆ ลีลาในการเตะตะกร้อมี 4 แบบ คือ การเตะเหนียวแน่น (การรับให้ได้อย่างดี) การเตะแม่นคู่ (การโต้ตรงคู่) การเตะดูงามตา (ท่าเตะสวย มีสง่า) การเตะท่ามาก (เตะได้หลายท่า)



---------------------------------------------------------------------



ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตะกร้อ



ในการค้นคว้าหาหลักฐานเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดการกีฬาตะกร้อในอดีตนั้น ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้อย่างชัดเจนว่ากีฬาตะกร้อนั้นกำเนิดจากที่ใด จากการสันนิษฐานคงจะได้หลายเหตุผลดังนี้

ประเทศพม่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 2310 พม่ามาตั้งค่ายอยู่ที่โพธิ์สามต้น ก็เลยเล่นกีฬาตะกร้อกัน ซึ่งทางพม่าเรียกว่า "ชิงลง"



ทางมาเลเซียก็ประกาศว่า ตะกร้อเป็นกีฬาของประเทศมาลายูเดิมเรียกว่า ซีปักรากา (Sepak Raga) คำว่า Raga หมายถึง ตะกร้า



ทางฟิลิปปินส์ ก็นิยมเล่นกันมานานแล้วแต่เรียกว่า Sipak

ทางประเทศจีนก็มีกีฬาที่คล้ายกีฬาตะกร้อแต่เป็นการเตะตะกร้อชนิดที่เป็นลูกหนังปักขนไก่ ซึ่งจะศึกษาจากภาพเขียนและพงศาวดารจีน ชาวจีนกวางตุ้งที่เดินทางไปตั้งรกรากในอเมริกาได้นำการเล่นตะกร้อขนไก่นี้ไปเผยแพร่ แต่เรียกว่าเตกโก (Tek K'au) ซึ่งหมายถึงการเตะลูกขนไก่

ประเทศเกาหลี ก็มีลักษณะคล้ายกับของจีน แต่ลักษณะของลูกตะกร้อแตกต่างไป คือใช้ดินเหนียวห่อด้วยผ้าสำลีเอาหางไก่ฟ้าปัก

ประกาศไทยก็นิยมเล่นกีฬาตะกร้อมายาวนาน และประยุกต์จนเข้ากับประเพณีของชนชาติไทยอย่างกลมกลืนและสวยงามทั้งด้านทักษะและความคิด



กติกาตะกร้อ เซปักตะกร้อ



1.ผู้เล่น

ประเภทเดี่ยว มีผู้เล่นตัวจริง 3 คน สำรอง 1 คน ประเภททีม ประกอบด้วย 3 ทีม มีผู้เล่น 9 คน และผู้เล่นสำรอง 3 คน2. ตำแหน่งของผู้เล่น มี 3 ตำแหน่งคือ

2.1 หลัง ( Back ) เป็นผู้เตะตะกร้อจากวงกลม

2.2 หน้าซ้าย

2.3 หน้าขวา

3. การเปลี่ยนตัวผู้เล่น

ในทีมเดี่ยวเปลี่ยนตัวได้ 1 คน และถ้าเหลือน้อยกว่า 3 คน ถือว่าแพ้ ผู้มีชื่อในทีมเดี่ยวที่เล่นมานานแล้ว จะลงเล่นในทีมเดี่ยวต่อไปไม่ได้

4. การเสี่ยงและการอบอุ่นร่างกาย

มีการเสี่ยง ผู้ชนะการเสี่ยงจะได้เลือกข้างหรือส่งลูก ทีมที่ได้ส่งลูกจะได้อบอุ่นร่างกายก่อน เป็นเวลา 2 นาที พร้อมเจ้าหน้าที่และนักกีฬาไม่เกิน 5 คน

5. ตำแหน่งของผู้เล่นระหว่างการส่งลูกเสิร์ฟ

เมื่อเริ่มเล่นทั้ง 2 ทีมพร้อมในแดนของตนเอง ผู้เล่นฝ่ายเสิร์ฟจะต้องอยู่ในวงกลมของตนเอง เมื่อเสิร์ฟแล้วจึงเคลื่อนที่ได้ ส่วนผู้เล่นฝ่ายรับจะยืนที่ใดก็ได้

6. การเปลี่ยนส่ง

ให้เปลี่ยนการส่งลูกเมื่อฝ่ายส่งลูกผิดกติกา หรือ ฝ่ายรับทำลูกให้ตกบนพื้นที่ของฝ่ายส่งได้

7. การขอเวลานอก

ขอได้เซตละ 1 ครั้งๆ ละ 1 นาที

8. การนับคะแนน

การแข่งขันใช้แบบ 2 ใน 3 เซต ในเซตที่ 1 และเซตที่ 2 จะมีคะแนนสูงสุด 15 คะแนน ทีมใดได้ 15 คะแนนก่อน จะเป็นผู้ชนะในเซตนั้นๆ ทั้ง 2 เซต จะไม่มีดิวส์ หากทั้งสองทีมได้ 13 ก่อน หรือ 14 เท่ากัน พักระหว่างเซต 2 นาที ถ้าเสมอกัน 1:1 เซต ให้ทำการแข่งขันเซตที่ 3 ด้วยไทเบรก โดยเริ่มด้วยการเสี่ยงใหม่ โดยใช้คะแนน 6 คะแนน ทีมใดได้ 6 คะแนนก่อนเป็นผู้ชนะ แต่จะต้องแพ้ชนะอย่างน้อย 2 คะแนน ถ้ายังไม่แพ้กันไม่น้อยกว่า 2 คะแนน ก็ให้ทำการแข่งขันอีก 2 คะแนน แต่ไม่เกิน 8 คะแนน เช่น 8:6 หทรือ 8:7 ถือเป็นการยุติการแข่งขันระบบไทเบรก เมื่อฝ่ายใดก็ตามได้ 3 คะแนน และขอเวลานอกได้เซตละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 นาที สำหรับไทเบรก ขอเวลาได้ 1 ครั้ง ครั้งละ 30 วินาที



แนะนำการดูตะกร้อ



มารยาทในการเล่นที่ดี

การเล่นกีฬาทุกชนิด ผู้เล่นจะต้องมีมารยาทในการเล่นและการแข่งขัน ประพฤติปฎิบัติตนให้เป็นไปตามขั้นตอนของการเล่นกีฬาแต่ละประเภท จึงจะนับว่าเป็นผู้เล่นที่ดีและมีมารยาท ผู้เล่นควรต้องมีมารยาทดังนี้ คือ

1. การแสดงความยินดี ชมเชยด้วยการปรบมือหรือจับมือเมื่อเพื่อนเล่นได้ดี แสดงความเสียใจเมื่อตนเอง หรือเพื่อนร่วมทีมเล่นผิดพลาดและพยามปลอบใจเพื่อน ตลอดจนปรับปรุงการเล่นของตัวเองให้ดีขึ้น

2. การเล่นอย่างสุภาพและเล่นอย่างนักกีฬา การแสดงกิริยาท่าทางการเล่นต้องให้เหมาะสมกับการเป็นนักกีฬาที่ดี

3. ผู้เล่นที่ดีต้องไม่หยิบอุปกรณ์ของผู้อื่นมาเล่นโดยพลการ

4. ไม่ว่าจะชนะหรือแพ้ต้องไม่แสดงอาการดีใจหรือเสียใจจนเกินไป

5. ผู้เล่นต้องเชื่อฟังคำตัดสินของกรรมการ หากไม่พอใจคำตัดสินก็ยื่นประท้วงตามกติกา

6. ผู้เล่นต้องควบคุมอารมณ์ให้สุขุมอยู่ตลอดเวลา

7. ก่อนการแข่งขันหรือหลังการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายแพ้หรือชนะก็ตาม ควรจะต้องจับมือแสดงความยินดี

8. หากมีการเล่นผิดพลาด จะต้องกล่าวคำขอโทษทันทีและต้องกล่าวให้อภัยเมื่อฝ่ายตรงข้ามกล่าวขอโทษด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส

9. ต้องแต่งกายรัดกุม สุภาพ ถูกต้องตามกติกาที่กำหนดไว้

10. ไม่ส่งเสียงเอะอะในขณะเล่นหรือแข่งขันจนทำให้ผู้เล่นอื่นเกิดความรำคาญ

11. ต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับตามกติกาอย่างเคร่งครัด

12. มีความอดทนต่อการฝึกซ้อมและการเล่น

13. หลังจากฝึกซ้อมแล้วต้องเก็บอุปกรณ์ให้เรียบร้อย

14. เล่นและแข่งขันด้วยชั้นเชิงของนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ในการเล่นกีฬา



มารยาทของผู้ชมที่ดี

1. ปรบมือให้นักกีฬาและผู้ตัดสินเมื่อเขาดินลงสนาม

2. ปรบมือแสดงความยินดีเมื่อผู้เล่นเล่นได้ดี หรือชนะการแข่งขัน

3. นั่งชมด้วยความสงบเรียบร้อยไม่ส่งเสียงเอะอะ

4. ไม่แสดงท่าทางยั่วยุให้ผู้เล่นขาดสมาธิ

5. ไม่ใช้เสียงเพลงที่มีเนื้อหาหยาบคาย สร้างความแตกแยก

6. อย่าแสดงกิริยาไม่สุภาพหรือใช้วัสดุสิ่งของขว้างปาลงสนาม นักกีฬา หรือกรรมการ

7. ผู้ดูต้องยอมรับการตัดสินของผู้ตัดสิน

8. ไม่ส่งเสียงโห่ร้องหรือแสดงกิริยาเย้ยหยัน เมื่อผู้เล่นเล่นผิดพลาดหรือผู้ตัดสินผิดพลาด

9. ผู้ดูควรเรียนรู้กติกาการแข่งขันกีฬาชนิดนั้นๆ พอสมควร

10. ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ เมื่อเกิดเหตุการณ์วุ่นวายขึ้นในสนามแข่งขัน

11. สนับสนุนให้กำลังใจและให้เกียรตินักกีฬาทุกประเภทเพื่อเป็นการส่งเสริมการกีฬาของชาติ